Penguin Jogging

Diary no.3

Diary no.3 Tuesday, 22 August 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


➤ แต่ละกลุ่มนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มสนใจ

     อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ      จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


                                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หว้ากอ


    CORO FIELD       จังหวัดราชบุรี


                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ coro field สวนผึ้ง


                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อ่าวทุ่งโปร่ง กองพันลาดตระเวน


                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อ่าวคุ้งกระเบน


➤ หลังจากที่พูดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางวิทยาศาสตร์กันเรียบร้อย อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้คนละ 1 แผ่น โดยตั้งโจทย์ให้ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้กระดาษลอยตัวอยู่บนอากาศในนานที่สุด

            เพื่อนหลายคนๆพับกระดาษเป็นเครื่องร่อน บางคนพับเป็นนก และไม่พับอะไรเลย ซึ่งวิธีที่แต่ละคนได้ทดลองทำให้กระดาษตกลงถึงพื้นในเวลาที่แตกต่างกัน

            จากที่ได้ทดลองทีละ 1 คนแล้ว อาจาย์จึงให้จับกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน ร่วมกันระดมความคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระดาษลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด ซึ่งกลุ่มของฉันได้แบ่งครึ่งกระดาษ A4 แล้วพับเป็นเครื่องร่อนที่มีขนาดเล็ก ผลปรากฏว่ากระดาษกลุ่มของฉันสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด
           
             

          การทดลองครั้งสุดท้าย อาจารย์ให้ทำอย่างไรก็ไก้ให้กระดาษลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุดโดยที่ไม่ใช่การพับเป็นเครื่องร่อน และสามารถหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกลุ่มของฉันได้ตัดกระดาษออกมาให้มีลักษณะคล้ายตัว Y ม้วนหางตัว Y เพื่อถ่วงน้ำหนัก  โดยได้แนวคิดมาจากลูกยางที่อยู่ในธรรมชาติ เมื่อทำการทดลองแล้วผลปรากฏว่าลูกยางจากกระดาษสามารถอยู่ในอากาศได้นาน แต่ยังไม่นานที่สุด บางกลุ่มทำเป็นกังหันกระดาษ อีกกลุ่มตัดกระดษาให้มีชิ้นเล็กและใช้พัดในการช่วยให้กระดาษลอยตัวได้นาน แต่กลุ่มที่สามารถอยู่ได้นานที่สุดคือกลุ่มที่ทำเป็นลูกยางกระดาษเหมือนกันแต่มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มของฉัน 

สิ่งประดิษฐ์จากการทดลองทั้ง 3 ครั้ง

          เมื่อได้ทดลองแล้ว อาจารย์จึงให้มาหาข้อบกพร่องของสิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มตนเองที่จะสามารถทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดิม กลุ่มของฉันจึงนำแม๊กมาแม๊กที่หางของตัว Y เพื่อถ่วงน้ำหนักให้ลูกยางกระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นานยิ่งขึ้น

          



Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

       กระดาษจะลอยตัวได้นานเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อากาศ องศาการเหวี่ยงแขน และการที่กระดาษลอยตัวได้เกิดจากลม ซึ่งลมคือกาศที่เคลื่อนที่ได้ จึงทำให้อากาศเกิดการลอยตัว

Adoption (การนำไปใช้)

       การจะสอนเด็กในเรื่องของลม ถ้าเกิดว่าเราอธิบายด้วยปากเปล่าให้เด็กฟัง เด็กอาจจะเข้าใจ แต่ไม่สามารถเข้าใจได้เท่าการได้ลงมือทำลงมือทดลองเอง

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง: ช่วยเพื่อนคิดสิ่งประดิษฐ์ และมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

อาจารย์: เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และให้นักศึกษาลองให้ใช้ความคิดของตนเองก่อนที่จะช่วยเสริมอธิบายเพิ่มเติม ช่วยให้เข้าใจและสามารถจดจำได้ดี

บรรยากาศ: เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจและจริงจังกับการทดลองครั้งนี้


Vocabulary (คำศัพท์)

อากาศ = Air
การลอยตัว = Floating
การทดลอง = Experiment
ธรรมชาติ = Nature
การเหวี่ยง = Crank


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น