บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
➤ เล่นเกมคำคล้องจอง โดยคนเริ่มต้นต้องพูดคำ 1 คำ จะพูดภาษาไทยหรืออังกฤษก่อนก็ได้ ถ้าพูดภาษาไทย คำต่อไปต้องเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคิดคำใหม่ขึ้นมาอีก 1 คำ ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง nose post มด รถ cat fat ผีเสื้อ เรือ tree ปี love serve แก้ว เป็นต้น
➤ รอบที่สอง เป็นเกมคำคล้องจองเช่นเดิม แต่เมื่อคิดคำภาษาไทยได้ จะต้องต่อท้ายด้วยคำภาษาอังกฤษ คำต่อไปก็ต้องหาเสียงที่พ้องกับคำข้างหน้า ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง ดอกไม้ flower เธอ you ปู crab map แผนที่ ผี ghost โสด single girl เด็กผู้หญิง เป็นต้น
➤ อาจารย์มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม หานักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิด พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง โดยมีสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นตัวส่งเสริม
หลักการ ประกอบด้วย 4 ลักษณะ 1.แรงจูงใจในการเรียนรู้ 2.โครงสร้างของเนื้อหา 3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง 4.การเสริมแรง
ลำดับขั้นพัฒนาการ 1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) เรียนรู้จากการกระทำและประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ขั้นจินตนาการ (Iconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ ตามความเป็นจริงและคิดจินตนาการ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน 1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจ 2.โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม 3.การจัดลำดับจากง่ายไปหายาก 4.การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป ทุกคนมีพัฒนาการและการเรียนรู้ ผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ความหมาย การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก
ความสำคัญ ความเข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก มากกว่าการกระตุ้นเด็กให้เกิดพัฒนาการที่ข้ามขั้น
ลำดับขั้นของพัฒนาการ (เฉพาะที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย)
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2ปี เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้มือประสานกับตาได้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เริ่มตั้งแต่ 2-7ปี แบ่งออกเป็น 2 ขั้น
2.1 ขั้นก่อนเกิดสังเกต ช่วงอายุ 2-4ปี เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้ แต่ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังอยู่ในระดับเบื้องต้น
2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ ช่วงอายุ 4-7 ปี นึกออกเองโดยไม่ต้องใช้เหตุผล เริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ทฤษฎีของบรูเนอร์กับทฤษฎีของเพียเจย์เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยทั้งสองทฤษฎีได้พูดถึงการใช้ความคิดของเด็ก เด็กจะซึมซับประสบการณ์ต่างๆและเมื่อถึงเวลาที่ควรใช้ เด็กจะนำประสบการณ์เดิมที่ได้รับมาแตกเป็นประสบการณ์ใหม่ สมองของเด็กก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
Adoption (การนำไปใช้)
จากการเล่นเกมคำคล้องจองสามารถนำไปใช้กับเด็กได้คือ ให้เด็กฝึกคิดและเป็นการทบทวนคำศัพท์ให้เด็กได้อีกด้วย อีกทั้งการรู้และเข้าใจในทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการความคิดของเด็กให้ดียิ่งขั้น
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับกลุ่ม
อาจารย์: อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ
บรรยากาศ: ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
Vocabulary (คำศัพท์)
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ = Enactive Stage
ขั้นจินตนาการ = Iconic Stage
ขั้นใช้สัญลักษณ์ = Symbolic Stage
การอนุรักษ์ = Conservation
ประสบการณ์ = Experience
การเสริมแรง = Reinforcement
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น