Penguin Jogging

Diary no.6

Diary no.6 Tuesday, 12 September 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

     เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 2 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม จำนวน 120 คน ผ่านเครื่องมือคือแผนการสอนและแบบทดสอบก่อน-หลัง ได้ผลสรุปว่า เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
สามารถศึกษาวิจัยชิ้นนี้ต่อได้ที่ https://spupapitt.blogspot.com/2017/09/blog-post_55.html


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

➥ การเปลี่ยนแปลง (Change) → ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเจรญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
➥ ความแตกต่าง (Variety) → เช่น ต้นไม้ต้นเดียวกันแต่แต่ละกิ่งไม่เหมือนกัน
➥ การปรับตัว (Adjustment) → เช่น การสร้างบ้านให้เหมาะกับภูมิอากาศ
➥ การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutually) → เช่น เหาฉลามกับปลา นกเอี้ยงกับควาย
➥ ความสมดุล (Equilibrium)  ทุกสิ่งในโลกต้องปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด เช่น ปลาใหญ่กินปลาเล็ก



องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์

➥ องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา) → ความรู้ของธรรมชาติ
                                                    → ใช้กระบวนการสืบหาความรู้
                                                    → ผ่านการทดสอบและยืนยันว่าเป็นจริงเรียกว่า ทฤษฎี
➥ องค์ประกอบด้านกระบวนการ
➥ องค์ประกอบด้านเจตคติ


ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  จำแนกออกเป็น 5 ประเภท

➥ ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น น้ำไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ
➥ มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept) เช่น แมลงคือสัตว์ที่มีขา 6 ขาและลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
➥ หลักการ (Principle) เช่น  ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
➥ กฎ (Law) เช่น น้ำเมื่อเย็นตัวลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
➥ ทฤษฎี (Theory) รวมทั้ง4ตัวข้างต้นที่กล่าวมา จนกลายเป็นความจริงที่คนทั่วไปยอมรับ


วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้คือ

➥ขั้นสังเกต (Observation)
➥ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
➥ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
➥ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
➥ขั้นสรุป (Conclusion)

➤ อาจารย์ให้หาของเล่น งานสื่อเข้ามุมและการทดลองที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มานำเสนออาจารย์

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

    จากการที่เพื่อนนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ได้แนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก และการเรียนรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในวันนี้ทำให้เข้าใจมากยิ่งขี้น

Adoption (การนำไปใช้)

    ในเรื่องของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ด้านข้อเท็จจริง การคิดรวบยอดเป็นเรื่องที่สามารถสอนให้เด็กปฐมวัยเข้าใจได้ รวมทั้งอาจต่อยอดไปถึงการสอนแบบหลักการได้เลยด้วย

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง: มีส่วนร่วมในการฟังวิจัยของเพื่อน และตั้งใจเรียนในคาบท้าย
อาจารย์: ถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้เกิดการคิด
บรรยากาศ: เพื่อนแอบเล่นโทรศัพท์บ้างเป็นบางครั้ง และไม่ค่อยสนใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ


Vocabulary (คำศัพท์)

การเปลี่ยนแปลง = Change
ความแตกต่าง = Variety
การปรับตัว = Adjustment
การพึ่งพาอาศัยกัน = Mutually
ความสมดุล = Equilibrium
ข้อเท็จจริง = Fact
มโนมติหรือความคิดรวบยอด = Concept
หลักการ = Principle
กฎ = Law
ทฤษฎี = Theory
ขั้นสังเกต = Observation
ขั้นตั้งปัญหา = State Problem
ขั้นตั้งสมมติฐาน = Make a Hypothesis
ขั้นทดสอบสมมติฐาน = Testing Hypothesis
ขั้นสรุป = Conclusion


1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าจะให้ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมจะต้อง Link ในส่วนที่เพื่อนนำเสนองานวิจัยนะคะเช่น https://spupapitt.blogspot.com/2017/09/blog-post_55.html

    ตอบลบ