บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
➥ ตรวจสอบแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่ม และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นแผนผังความคิดที่สมบูรณ์ขึ้น
จากที่อาจารย์ได้ใหเแก้ไขเพิ่มเติมสามารถแบ่งได้ดังนี้
ชนิด ➜ กล้วยน้ำว้า
➜ กล้วยไข่
➜ กล้วยหอม
➜ กล้วยเล็บมือนาง
ลักษณะ ➜ สี → เขียว
→ เหลือง
→ น้ำตาล
➜ ขนาด → สั้น
→ ยาว
→ เล็ก
→ กลาง
→ ใหญ่
➜ รูปทรง → ทรงรี
➜ กลิ่น → หอม
→ เหม็น
➜ ส่วนประกอบ → มีเปลือกห่อหุ้ม
→ มีเม็ด
→ เนื้อสีขาว
ประโยชน์ ➜ ถนอมอาหาร → กวน
→ ตาก
→ ฉาบ
➜ ประกอบอาหาร → เครื่องดื่ม ⇢ น้ำกล้วยปั่น
→ ของหวาน ⇢ กล้วยทอด
⇢ กล้วยปิ้ง
⇢ เค้กกล้วยหอม
⇢ ไอศกรีม
⇢ กล้วยบวชชี
→ ของคาว ⇢ แกงคั่วซี่โครงหมูใส่กล้วยดิบ
⇢ แกงกล้วยดิบ
⇢ ส้มตำกล้วย
➜ สร้างอาชีพ / รายได้ → ชาวสวน
→ คนขับรถส่งกล้วย
→ ค้าขาย ⇢ คนขายผลไม้
⇢ คนขายกล้วยปิ้ง
⇢ คนขายล้วยทอด
⇢ คนขายไอศกรีม
➜ รักษาโรค → กล้วยดิบแก้กระเพาะ
→ กล้วยสุกแก้ท้องผูก
→ กล้วยห่ามแก้ท้องเสีย
→ กล้วยงอมต้านมะเร็ง
ข้อควรระวัง ➜ ไม่ควรพูดขณะรับประทานอาหาร
➜ เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
➜ หากกินกล้วยที่ไม่สุก อาจทำให้เกิดลมในท้อง
นำหน่วยการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 สาระ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต คือให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิต เช่นเรื่องกล้วยเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ต้องมีความสัมพันธ์กันและบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร คือการทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่นการแปรรูปกล้วยเป็นกล้วยฉาบหรือการนำกล้วยไปประกอบอาหาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ เช่นการจม การลอย
สาระที่ 5 พลังงาน คือการใช้พลังานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำกล้วยตาก
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ เช่น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างพายุทำให้กล้วยเกิดความเสียหาย
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เช่นกลางวันและกลางคืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- ตั้งคำถาม
- ตั้งสมติฐาน
- การทดลอง
- สรุปผล
- ย้อนดูสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่
- รายงานผลที่ได้
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
หน่วยการเรียนรู้ต่างๆสามารถนำมาบูรการการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานได้ เช่นหน่วยการเรียนรู้เรื่องหมึก สามารถสอนในสาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศได้ว่า ผลของการเกิดกลางวันและกลางคืน หมึกจะออกหากินในเวลากลางคืน ถ้าในช่วงฤดูหนาวจะทำให้ชาวประมงมีรายได้ดีกว่าช่วงฤดูร้อน เพราะในฤดูหนาวกลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน ทำให้มีช่วงเวลานานในการจับหมึกมากกว่าฤดูร้อน
Adoption (การนำไปใช้)
การวางแผนด้วยแผนผังความคิดทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐาน และหน่วยการเรียนรู้ต่างๆไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานทั้งหมด
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์เท่าที่ควร เพราะมัวแต่คุยกับเพื่อน แต่ช่วยเพื่ิอนทำงานในกลุ่มอย่างเต็มที่
อาจารย์: แนะนำและแนวทางการแก้ไขเพื่อให้แผนผังความคิดเกิดความสมบูรณ์
บรรยากาศ: เพื่อนทุกกลุ่มต่างตัั้งใจแก้ไขแผนผังความคิดให้สมบูรณ์
Vocabulary (คำศัพท์)
อวกาศ = Space
พลังงาน = Energy
ผลกระทบ = Effect
วางแผน = Plan
หมึก = Squid
Vocabulary (คำศัพท์)
อวกาศ = Space
พลังงาน = Energy
ผลกระทบ = Effect
วางแผน = Plan
หมึก = Squid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น