บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
วันนี้เพื่อนนำเสนอวิดีโอสื่อการสอนเรื่อง สอนวิทย์คิดสนุก โดย อ.กรรณิการ์ เฉิน จากสื่อการสอนที่เพื่อนเลือกมาจะพูดถึงว่าเราควรสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้เด็กรู้สึกสนุก ซึ่งอ.กรรณิการ์ เฉินได้เสนอวิธีว่าควรตั้งประเด็นที่เป็นปัญหาและตั้งคำถามให้เด็กเกิดการสังเกต คุณครูจะไม่เป็นตัวกำหนดว่าผิดหรือถูก แต่ให้เด็กสังเกตเอง
สามารถศึกษาวิดีโอสื่อการสอนชิ้นนี้ต่อได้ที่ http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3504
เมื่อเพื่อนนำเสนอวิดีโอสื่อการสอนจบก็ต่อด้วยเพื่อนอีกนึ่งคนนำเสนอวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ ต้องครอบคลุมสาระที่เด็กควรเรียนรู้คือ 1.ตัวเรา 2.บุคคลและสถานที่ 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัว
กระบวนการ
- ตั้งประเด็นปัญหา
- สมมติฐาน
- ทดลอง
- สรุป
กระบวนการ
- ตั้งประเด็นปัญหา
- สมมติฐาน
- ทดลอง
- สรุป
การสอนแบบโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 สำรวจ คือถามเด็กถึงสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ เมื่อได้หัวข้อเรื่อง ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก และเด็กอยากรู้อะไรเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ
ระยะที่ 2 การศึกษาอย่างลึก หาคำตอบในสิ่งที่เด็กอยากรู้ด้วยวิธีการต่างๆเช่น การพาออกนอกสถานที่
ระยะที่ 3 สรุป รวบรวมผลจากการดำเนินการ จัดนิทรรศการนำเสนอสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโครงการนี้
หลังจากได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการแล้ว อาจารย์ให้จับกลุ่ม 4 คน คิดเมนูอาหารมากลุ่มละ 1 อย่าง ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ออกมาเป็นเรื่อง พิซซ่า
วัตถุดิบ
1.ขนมปัง
2.ซอสพิซซ่า/ซอสมายองเนส/ซอสมะเขือเทศ
3.ไส้กรอก
4.แฮม
5.ปูอัด
6.ข้าวโพด
7.สับปะรด
8.ชีส
อุปกรณ์
1.ช้อน
2.ถ้วย
3.มีด/เขียง
4.จานกระดาษ
5.เตาอบ
สัดส่วน
ขนมปัง 1 แผ่น
ซอสพิซซ่า 1 ช้อน
วัตถุดิบแต่งหน้าพิซซ่า 3 อย่าง อย่างละ 1 ช้อน
ขั้นตอนการทำ
1.แจกขนมปังให้เด็กคนละ 1 แผ่น แล้วออกแบบเป็นรูปทรงตามจินตนาการ
2.นำซอสพิซซ่าทาบนขนมปัง 1 ช้อน
3.เลือกวัตถุดิบแต่งหน้าพิซซ่า 3 อย่าง อย่างละ 1 ช้อนใส่ลงบนขนมปัง
4.นำพิซซ่าของตนเองเข้าเตาอบ
5.นำออกจากตบอบแล้วใส่จานกระดาษ
ขั้นตอนการทำพิซซ่า
ชาร์ตวัตถุดิบ
จากการวางแผนทำอาหารในเรื่องของพิซซ่าซึ่งได้นำเรื่องของ STEM มาเกี่ยวข้องคือ
S (Science) → การเปลี่ยนแปลงของพิซซ่าเมื่อนำเข้าเตาอบ
T (Technology) → อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิซซ่า
E (Engineering) → การออกแบบ ตกแต่ง
M (Math) → สัดส่วนของวัตถุดิบที่จะนำมาใส่ในพิซซ่า
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
การสอนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกสนใจและอยากเรียน วิดีโอสื่อการสอนเรื่องสอนวิทย์คิดสนุก ที่เพื่อนนำมาเสนอก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าการมานั่งท่องตำราให้ฟัง
Adoption (การนำไปใช้)
สอนแบบโครงการเป็นวิธีที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบเจาะลึกและได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ซึ่งสามารถเชื่อโยงกับการเรียนแบบ STEM ( S=Science T=Technology E=Engineering M=Math ) ได้ด้วย
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน ร่วมออกข้อเสนอแนะภายในกลุ่ม
อาจารย์: เสริมความรู้เพิ่มเติมให้กับเพื่อนที่นำเสนอ
บรรยากาศ: เพื่อนทุกกลุ่มให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี
Vocabulary (คำศัพท์)
จินตนาการ = Imagination
สัดส่วน = Proportion
วัตถุดิบ = Raw material
นิทรรศการ = Exhibition
สังเกต = Observe
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น